RECORDING DIARY 9

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนน่ารัก

วันพุธ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ
   
       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมฟังการอบรมการฝึกประสบการณ์จองพี่ปี 5 ที่ผ่านการฝึกสอนมา 1 ภาคเรียนการศึกษา โดยทีการนำเสนอเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกสอนในรูปต่างๆในแต่สาขาและ วิธีการสอน แนวคิดวิธีคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  พี่ปี 5 ได้มีการจัดนิทรรศการ "การศึกษาปฐมวัย        โปรเจกต์ "เรือ"  ทำให้ได้เห็นการฝึกสอนในแต่ละโรงเรียนที่พี่ได้ฝึกสอน และมีให้คำแนะนำในด้านต่างๆไม่ว่า การจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย โครงร่างวิจัย  แผนการจัดประสบการณ์






















ภาพกิจกรรม


การสอนแบบโครงการ (Project Approach)
     หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา
เด็ก ๆ ตื่นเต้น ดีใจที่ได้เรียนรู้ข้าวโพดจากของจริง

👉การกำหนดหัวข้อโครงการ
        หัวข้อการเรียนรู้สามารถกำหนดได้จากเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของตัวเด็กเอง เพราะทุก ๆ คำถามที่เด็กถาม มักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กพบเห็นได้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวัน และในคำถามที่เด็กถาม คุณครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะและจะไม่ให้คำตอบทันทีกับคำถามที่เด็กถาม แต่คุณครูจะให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 

     💨 การสอน 3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
     คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
      ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้

ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
       เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ


💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙💙

👉ไฮสโคป (High Scope) เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ

👉แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) เป็นอย่างไร

ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

💅1. การวางแผน (Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ


💅2. การปฏิบัติ (Do) คือ การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง

💅3. การทบทวน (Review) เด็ก ๆ จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

คำศัพท์ 

 1.  High Scope   ไฮสโคป


2.Plan  การวางแผน


3. Do ทำ


4.Review  การทบทวน


5.development   พัฒนาการ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น