RESEARCH




วิจัย   เรื่องผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อผู้เขียน ;  ลำดวล  ปั่นสันเทียะ

ปีการศึกษา ; 2545

มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

ความสำคัญของการวิจัย

1. เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้กับครูผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

2. เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวทางการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

3. เป็นการส่งเสริมการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย
   เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1. เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

2. เมื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนทอดลองและหลังทดลอง

ประชากรที่ใช้ในการทดลอง

    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมื่อง  จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 15 คน

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏนครราชสีมา อำเภอ เมือง  จังหวัด นครราชสีมา

2. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถที่เด็กปฐมวัยแสดงด้วยตนเองในการแสวงความรู้โดยใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทั้ 6 ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมา

2.1 ทักษะการสังเกต ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ้งเป็นรายละเอียดของสิ่งนี้โดยไม่ใส่ความคิดเห็น

2.2 ทักษะการจำแนกประเภท มีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความต่างและความสัมพันธ์โดยใช้เกณฑ์ที่ใช้ประสาทสัมผัสส่วนไดส่วนหนึ่งของร่างกาย

2.3 ทักษะการวัด ได้แก่ สายวัด ไม่บรรทัด และเครื่องมืออื่นๆ วัดปริมาณสิ่งของที่ต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง

2.4 ทักษะการลงความคิดเห็น หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการทดลองและการทำกิจกรรมต่างๆที่ไปสัมพันธ์ความรู้และประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อมูลสรุปหรืออธิบาย ปรากฏการณ์นั้นๆ

2.5 ทักษะการสื่อสารความหมาย หมายถึง การทดลองหรือการทำกิจกรรมอื่นๆมาจัดทำและเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาจัดให้มีความสัมพันธ์ให้ง่ายต่อการแปลความหมาย ในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หนังสือและนิทรรศการ โดยทั้งหมดมีลักษณะตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

2.6 ทักษะการพยากรณ์ หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นส่วนหน้า โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ซ้ำๆ จากความรู้ที่มีมาก่อน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

2.แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ระยะเวลาการทดลอง

    การทดลองครั้งนี้ทำในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 ใช้เวลาในการทดลอง สัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งหมด 8 สัปดาห์ เวลาในการทำกิจกรรมหรือจัดประสบการณ์ในแต่ระวัยยึดหยุ่นตามลักษณะกิจกรรมและความสนใจของเด็กโดยใช้การจัดประสบการณ์แบบโครงการเข้ามาจัดในกิจกรรมวงกลม


           ตัวอย่างวิธีการใช้แบบบันทึกเหตุการณ


 


สรุปการวิจัย

         การสังเกตการส่งเสริมทักษะของการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมแบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เด็กได้มีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการการงความเห็น ทักษะกระบวนการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความคิดเห็น และทักษะการพยากรณ์ สามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้จากความต้องการและความสนใจของตนเองเพราะจะทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระสนุกกับกิจกรรมจึงทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  และเด็กสามารถเรียนรู้พร้อมกับการคิดและทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเองจากที่เป็นสื่อที่เป็นของจริงและลงมือปฏิบัติ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น